จ่ามงกุฎ

   จ่ามงกุฏ
ประวัติความเป็นมา
จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ขนมจ่ามงกุฏต้นตำรับเดิมเป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 2 จะใช้ความหอมจากดอกไม้สด นำมาอบกับน้ำสุกที่ใช้คั้นน้ำกะทิ เช่น ดอกชมขนาด ดอกกระดังงาไทย ดอกกุหลาบมอญ ดอกมะลิ และเทียนอบขนม การเก็บรักษาง่าย ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น เนื้อขนมสีขาวนวล โบราณของแท้จะใช้แป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็กเท่าเม็ดข้าวสุกโรยในตัวขนม ปัจจุบันใช้ถั่วคุดคั่วหรืออบซอยโรยแทน เพราะสะดวกในการทำหรือเม็ดแตงคั่วตกแต่ง (ศึกษาค้นคว้าจากจดหมายเหตุและตำราจากวิทยาลัยในวังและอาจารย์ถ่ายทอด
ขนมจ่ามงกุฎ นิยมทำกันในงานฉลองยศ ฉลองตำแหน่ง เพราะมีความหมายว่าจะมีลาภยศอันสูงส่งเป็นนิมิตหมายอันดีในหน้าที่การงานสืบไป ส่วนในงานแต่งงานจะแทนคำอวยพรให้เจริญก้าวหน้าเพียบพร้อมด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์
ส่วนผสม 1. เม็ดแตงโม แกะแล้ว 1/2 ถ้วย
2. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
3. น้ำดอกมะลิ 1 ถ้วย
4. ทองคำเปลวแท้ 2 แผ่น
5. แป้งสาลี 1 ถ้วย
6. ไข่แดงของไข่ไก่ 3 ฟอง

วิธีทำ1. เชื่อมน้ำตาล โดยใช้น้ำตาลกับน้ำดอกมะลิตั้งไฟให้เดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วตั้งไฟต่ออีก 5 นาที
2. ล้างขัดกระทะทองเหลืองให้สะอาดเป็นเงา ตะแคงข้างหนึ่ง คั่วเม็ดแตงโมโดยใช้มือจุ่มลง ในน้ำเชื่อม แล้วกวาดไปมา จนน้ำตาลแห้งแล้ว ใช้มือจุ่มน้ำเชื่อม ทำเช่นนี้ต่อไป จนน้ำตาลเกาะเป็นหนามติดเม็ดแตงโมพองาม เก็บใส่ภาชนะอย่าให้อากาศเข้า
3. ระหว่างที่กวาดเม็ดแตงโมอยู่นั้น ต้องตะแคงกระทะและใช้ ผ้าขาวบางเช็ดกระทะให้สะอาดอยู่เสมอ
4. นวดแป้งกับไข่แดงจนนิ่มมือ ถ้ายังแห้งอยู่จึงเติมน้ำ แล้ว คลึงแป้งเป็นแผ่นบาง ๆ กดให้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร นำแผ่นแป้งที่ตัดแล้ว ใส่ในถ้วยตะไล ใช้มือ กดเบา ๆ ให้เป็นรูปก้นถ้วยตะไล ใช้ส้อมจิ้มให้ทั่วจึงเอาไป อบพอสุกกลายเป็นแป้งรองขนม

5. การทำมงกุฎ ให้เอาน้ำตาลทรายใส่หม้อเล็ก ๆ ใส่น้ำนิด หน่อย ตั้งไฟอ่อน ๆ พอน้ำตาลละลายเอาเม็ดแตงโมที่ กวาดไว้แล้วลงจุ่มให้น้ำตาลติดกับแป้งที่อบไว้รอบ ๆ
6. ปั้นทองเอกกลม ๆ วางตรงกลาง ใช้มีดปลายแหลมผ่าเป็น 6 พู เหมือนผลมะยม แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ เท่าเม็ดถั่วเขียววางบนยอดขนมที่ผ่าไว้ ใช้ทองคำเปลวตัดเป็นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก ๆ แตะตรงยอดมองเห็นเหมือนมงกุฎ

: http://diamond-d.exteen.com/20090530/entry-14

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น